จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด 19

อัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อ โควิด 19 | COVID 19 ล่าสุด

[jsoncontentimporter url=https://covid19.th-stat.com/api/open/today debugmode=0] W3.CSS
ข้อมูลอัพเดท ณ วันที่{UpdateDate}
จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม{Confirmed}
จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้{NewConfirmed}
จำนวนผู้รักษาตัวอยู่ใน รพ.{Hospitalized}
จำนวนผู้รักษาตัวหายแล้ว{Recovered}
จำนวนผู้เสียชีวิต{Deaths}
ที่มาของข้อมูล{Source}
[/jsoncontentimporter]

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด 19)

ไวรัสโคโรนา เป็นกลุ่มของเชื้อไวรัสที่สามารถก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจในคน ซึ่งไวรัสที่อยู่ในกลุ่มนี้มีหลายสายพันธุ์ส่วนใหญ่ทำให้เกิดอาการไม่รุนแรง คือ เป็นไข้หวัดธรรมดา ในขณะที่บางสายพันธุ์อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงเป็นปอดอักเสบได้ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (เมอร์ส) หรือ โรคซาร์ (SARS) ซึ่งเคยมีการระบาดในอดีตที่ผ่านมา

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือเรียกว่า โควิด 19 คือ ไวรัสในกลุ่มโคโรนาที่เพิ่งมีการค้นพบใหม่ (ไม่เคยมีการพบเชื้อนี้ในคนมาก่อน) โดยพบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงปลายปี 2019

การติดต่อและอาการของไวรัสโควิด 19

คนสามารถติดเชื้อได้ จากข้อมูล ณ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563 พบว่ามีผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ในประเทศไทย จำนวน 2,931 ราย เสียชีวิต 52 ราย นอกจากนี้ไวรัสสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ผ่านทางการไอ จาม สัมผัสน้ำมูก น้ำลาย ดังนั้น จึงต้องระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจสงสัยจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ไปสัมผัสใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกันกับผู้อื่น เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ

ผู้ป่วยที่ต้องสงสัยโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรวิด 19 ที่พบมากที่สุดคือ ไข้ เหนื่อยล้าและไอ้แห้งๆ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดเมื่อย คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอและท้องเสียด้วย อาการเหล่านี้มักจะไม่รุนแรงนักและค่อยๆเริ่มมีอาการทีละน้อย บางรายติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการและไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองไม่สบาย ผู้ป่วยส่วนมาก (80%) ของทั้งหมดหายป่วยได้โดยไม่ต้องการการรักษาเป็นพิเศษ ประมาณ 1 ใน 6 ของผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีอาการหนักและหายใจลำบาก ผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวเช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน มีแนวโน้มที่จะมีอาการป่วยรุนแรงกว่า

คำแนะนำในการป้องกันตนเองจากไวรัสโควิด 19

หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อย โปรดไปพบแพทย์ แจ้งประวัติการเดินทาง และกรุณาแจ้งรายละเอียดต่างๆ กับแพทย์ผู้ทำการรักษา เช่น อาการป่วย วันที่เริ่มมีอาการป่วย สถานที่พัก เพื่อแพทย์จะได้วินิจฉัยได้ถูกต้องและรักษาได้ทันท่วงที แพทย์ผู้ทำการรักษาจะรายงานต่อหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการป้องกันควบคุมโรคโดยเร็ว

การล้างมือจะช่วยขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ เหงื่อ ไขมัน ที่ออกมาตามธรรมชาติ และลดจำนวนเชื้อโรคที่อาศัยอยู่ชั่วคราวบนมือ การล้างมืออย่างถูกวิธีต้องล้างด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว ใช้เวลาในการฟอกมือนานประมาณ 20 วินาที หรือร้องเพลงแฮปปีเบิร์ดเดย์ 2 รอบ ส่วนการใช้แอลกอฮอล์เจล (Alcohol gel) แนะนำว่าให้ใช้เฉพาะกรณีรีบด่วน หรือไม่สะดวกในการล้างมือด้วยน้ำ และมือไม่ปนเปื้อนสิ่งสกปรก หรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย โดยใช้แอลกอฮอล์เจลประมาณ 10 มิลลิลิตร และใช้เวลาประมาณ 15-25 วินาที โดยไม่ต้องล้างมือซ้ำด้วยน้ำ และไม่ต้องเช็ดด้วยผ้าเช็ดมือ

สวมใส่หน้ากากอนามัย เนื่องจากปัจจุบันหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ยังขาดแคลนอยู่ เราจึงแนะนำให้ท่านใช้หน้ากากผ้าแทนได้

อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ และรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร หรือ 3 ฟุต โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการไอ จาม หรือมีไข้ เนื่องจาก ขณะที่ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019  การไอ หรือจาม จะทำให้มีเชื้อไวรัสติดออกมากับละอองที่เกิดจากการไอหรือจาม หากท่านอยู่ใกล้คนเหล่านี้มากเกินไป ท่านอาจจะหายใจเอาไวรัสเหล่านั้นเข้าไป

ที่มา กรมควบคุมโรค

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่